เมนู

5. นัตถิทินนสูตร



[425] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยืดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวง
ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ
ปฏิบัติชอบกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้ เป็นแต่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง 4
เมื่อใดทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดิน ก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตาม
ธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลาย
ย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ 4 คน รวมเป็น 5 ทั้งเตียงที่หามเขาไป
รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา) ก็กลายเป็นกระดูกสีเทา
สีนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้
คำของคนบางพวกที่พูดว่า มีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ
เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจาก
ตายไปย่อมไม่มี. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
รากฐาน ฯลฯ.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชา ไม่มีผล ฯลฯ
เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจาก
ตายไป ย่อมไม่มี เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขาร
มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยืดมั่นวิญญาณ

จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ
เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจาก
ตายไป ย่อมไม่มี.
[426] ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชา
ไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไป ย่อมไม่มี ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล
การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไป ย่อมไม่มี ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยง หรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล
การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไป ย่อมไม่มี ใช่ไหม ?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัย
ในฐานะ 6 เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ใน
ทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น
อริยสาวกนี้เราตถาคตเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ นัตถิทินนสูตร

อรรถกถานัตถิทินนสูตรที่ 5



ในบทว่า นตถิ ทินฺนํ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ด้วยบทว่า นตฺถิ ทินฺนํ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายกล่าว
หมายถึงว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล.
การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ. ในบทว่า หุตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประสงค์เอาลาภพักการะมาก. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย ปฏิเสธ
บุญกรรมทั้งสองอย่างนั้น โดยหมายเอาว่า. ไม่มีผลเลย.
บทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ ได้แก่ แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่ว อธิบาย
ว่า แห่งกุศลกรรม และอกุศลกรรมทั้งหลาย.